แสตมป์ทั่วไป (definitive stamp) เป็นแสตมป์ ที่มีวัตถุประสงค์ในการพิมพ์เพื่อใช้งาน แทนที่จะพิมพ์ขึ้นเพื่อการสะสม [แต่ว่าคนที่สะสมแสตมป์ก็ไม่สนหรอก อะไรที่เป็นแสตมป์ผมเก็บหมดแหละ บางรุ่นมีซ้ำกันหลายสิบดวง ก็ยังเก็บอยู่] เหมือนแสตมป์ที่ระลึก ลักษณะของแสตมป์ทั่วไป มักมีหลายราคาครอบคลุมอัตราค่าขนส่งต่าง ๆ กัน มักทยอยพิมพ์และนำออกจำหน่ายต่อเนื่องกันหลายปี และมีการพิมพ์เพิ่มเติมเมื่อแสตมป์ที่มีอยู่ถูกใช้งานจนเหลือน้อย ที่สำคัญแสตมป์ใช้งานทั่วไปแต่ละรุ่นนั้นพอได้พิมพ์ออกมาที เรียกได้ว่าหลักหลายแสนดวง ถึงหลักหลายล้านดวงกันไปเลยก็มี เขาก็เลยบอกว่าไม่น่าสะสม เพราะว่ามันเยอะมาก แต่ว่าถ้าคิดจะเก็บจะสะสมแล้ว เก็บไปเถอะครับ เยอะวันนี้อีก 50 ปีข้างหน้า อาจจะกลายเป็นของหายากไปแล้วครับ 555
คำว่า definitive stamp เริ่มแพร่หลายช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อใช้แยกความแตกต่างจากแสตมป์ที่ระลึก สำหรับบ้านเรานั้น แสตมป์ทั่วไปส่วนใหญ่เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในสมัยนั้น เรียกว่า แสตมป์พระบรมฉายาลักษณ์
ราคาบนดวงแสตมป์จะขึ้นอยู่กับอัตราค่าไปรษณีย์ในแต่ละสมัย แสตมป์ทั่วไปมีทั้งชุดขนาดเล็กที่มีราคาเดียวหรือไม่กี่ราคา จนถึงชุดขนาดใหญ่ที่มีแสตมป์แตกต่างกันหลายสิบดวง ซึ่งราคาจะมีตั้งแต่ต่ำสุดซึ่งแทนหน่วยเงินที่เล็กที่สุด หรือ อัตราค่าไปรษณีย์ต่ำสุด ไปจนถึงราคาสูงสุดสำหรับส่งพัสดุไปรษณีย์ขนาดใหญ่ ส่วนราคาระดับกลาง ๆ มีเพื่อสะดวกในการติดแสตมป์ให้ได้อัตราค่าส่งต่าง ๆ กัน และอาจมีราคาเป็นตัวเลขประหลาดที่ตรงกับค่าฝากส่งบางประเภทที่ใช้บ่อย
แสตมป์ทั่วไปที่ออกเป็นชุดใหญ่มักจะพิมพ์มาเพื่อใช้งานเป็นเวลานานหลายปี ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงค่าไปรษณีย์ระหว่างนั้น ก็มักจะออกแสตมป์ราคาใหม่ ๆ มาเพิ่มเติมรองรับอัตราใหม่
แสตมป์ทั่วไปในบางประเทศยังมีการออกเป็นแสตมป์ไม่ระบุราคา (non-denominatd หรือ no-value indicator, NVI) ซึ่งไม่ใช้ตัวเลขมาแสดงราคาบนดวงแสตมป์ ตัวอย่างเช่น U.S.A. เคยออกแสตมป์ที่มีราคาบนดวงเป็นตัวอักษร เช่น A, B, C เป็นต้น มีจุดประสงค์เพื่อสามารถเตรียมการและพิมพ์แสตมป์เมื่อมีการปรับอัตราค่าไปรษณีย์ใหม่ แต่ในขณะเตรียมการยังไม่ทราบอัตราใหม่แน่นอน และเมื่อทราบอัตราใหม่แล้วจะมีการพิมพ์ราคาบนแสตมป์ทั่วไปรุ่นต่อ ๆ มา ระยะหลังสหรัฐอเมริกายังพิมพ์แสตมป์ที่แสดงข้อความ First-class แทนราคาจริงสำหรับจดหมายประเภท first-class (จดหมายทั่วไป) แต่ไม่สามารถใช้ในอัตราใหม่หากค่าไปรษณีย์มีการขึ้นอีก
แสตมป์ที่มีสัญลักษณ์ A ที่ดวงแสตมป์แทนที่จะเป็นราคาเหมือนทั่วไป แต่ A ในที่นี้ก็ถูกกำหนดให้มันมีมูลค่าอยู่ที่ 15 Cents U.S.A.
แสตมป์ไม่ระบุราคาอีกแบบ สามารถนำมาใช้เมื่อมีการปรับอัตราใหม่ได้ โดยแสตมป์ถือว่ามีราคาบนดวงเท่ากับอัตราใหม่ทันที ผู้ซื้อไม่ต้องหาแสตมป์มาติดเพิ่มอีก เช่น UK. มีการพิมพ์แสตมป์สำหรับ first-class และ second-class (ช้ากว่า) โดยพิมพ์ข้อความ 1ST และ 2ND แทนราคา Canada ก็ออกแสตมป์แบบนี้และใช้เครื่องหมายการค้าว่า PERMANENT stamp และใช้ตัวอักษร P บนใบเมเปิลเป็นสัญลักษณ์ ประเทศไทยเคยออกแสตมป์ชุดหนึ่ง เป็นแสตมป์รูปดอกบัว สำหรับส่งจดหมายภายในประเทศ บนแสตมป์ไม่มีราคาหน้าดวง จำหน่ายในรูปสมุดตราไปรษณียากรเล่มเล็ก ที่ร้าน 7-11 เริ่มจำหน่าย 4 สิงหาคม พ.ศ. 2540 แสตมป์ออกมาในช่วงที่อัตราจดหมายคือสองบาท และสามารถใช้ได้เมื่อปรับอัตราค่าไปรษณีย์ใหม่ ปัจจุบันไม่มีจำหน่ายแล้ว
แสตมป์ทั่วไปมักมีขนาดเล็กไม่เปลืองเนื้อที่ในการติด เนื่องจากเวลาใช้อาจต้องติดแสตมป์จำนวนมาก แสตมป์ราคาสูงอาจพิมพ์ให้มีขนาดใหญ่กว่าแสตมป์ราคาปกติ รูปแบบมักจะเรียบง่าย เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์แสตมป์ ภาพบนดวงแสตมป์นิยมสื่อถึงวัฒนธรรมหรือประวัติศาสตร์ของประเทศ บางประเทศนิยมนำภาพของผู้นำหรือพระมหากษัตริย์มาเป็นแบบบนแสตมป์
เพื่อความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ในการตรวจ แสตมป์ทั่วไปแต่ละราคาจะพิมพ์คนละสีกัน เจ้าหน้าที่ที่ชำนาญเพียงแต่เห็นแสตมป์สีต่าง ๆ กันบนจดหมายหรือพัสดุก็สามารถบอกได้ทันทีว่าติดแสตมป์ทั้งหมดรวมแล้วราคาเท่าใด
แสตมป์ทั่วไปที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดดวงหนึ่ง คือ แสตมป์ทั่วไปรุ่น เมชิน (Machin) ของUK. ชื่อรุ่นมาจากนักออกแบบชื่ออาโนลด์ เมชิน (Arnold Machin) แสตมป์เป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ของ ราชินี อลิซิเบท ที่ 2 เริ่มจำหน่ายครั้งแรกเมื่อ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2510 และใช้ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ออกใช้งานตั้งแต่สมัยเงิน 1 ปอนด์ แตกย่อยได้เป็น 240 เพนนี จนเปลี่ยนแปลงระบบเงินมาเป็น 1 ปอนด์เท่ากับ 100 เพนนี ผ่านการปรับอัตราค่าไปรษณีย์หลายครั้ง แต่ละครั้งก็มีการออกแสตมป์ราคาใหม่มาเพิ่มเติมจากเดิม จนถึงปัจจุบันมีการพิมพ์แสตมป์แบบไม่ระบุราคาอีกด้วย ในการพิมพ์จากอดีตจนถึงปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนสี ปรับปรุงแบบแม่พิมพ์ เทคนิกการพิมพ์ ซึ่งถ้าแยกความแตกต่างของแสตมป์ทั้งดูจากราคา สี ลายละเอียด กระดาษ แถบเรืองแสงบนผิวกระดาษ (phosphor) กาว วิธีปรุรูฯลฯ สามารถแยกแสตมป์รุ่นนี้ได้มากกว่าหนึ่งพันแบบ มันน่าทึ่งมาก
แสตมป์ทั่วไปของไทยนิยมใช้ภาพพระบรมฉายาลักษณ์บนดวงแสตมป์ตั้งแต่ยุคแรกของการไปรษณีย์ไทยในสมัย รัชกาลที่ 5 จะมียกเว้นบ้างก็เช่น ชุดในสมัยรัชกาลที่ 8 ชื่อชุดบางปะอิน (เริ่มจำหน่ายเมื่อ 17 เมษายน 2484) ที่นำรูปควายไถนาและรูปพระราชวังบางประอินมาใช้บนดวงแสตมป์
แสตมป์ทั่วไปสมัยรัชกาลที่ 9 ออกเป็นแสตมป์พระบรมฉายาลักษณ์ถึงปัจจุบันเป็นชุดที่ 9 (ข้อมูลเมื่อสิงหาคม พ.ศ. 2550) โดยเป็นพระบรมฉายาลักษณ์หันพระพักตร์ตรงสองชุด สลับกับพระพักตร์ข้างหนึ่งชุดสลับกันไป แสตมป์ชุดที่ 9 ซึ่งเป็นแบบพระพักตร์ข้าง ออกใช้งานตั้งแต่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ประกอบด้วยราคา 50 สตางค์, 1, 2, 4, 5, 6, 7, 9, 10, 12, 15, 20, 25, 30, 50, 100, 200 และ 500 บาท โดยแสตมป์ราคา 500 บาทเป็นแสตมป์ที่มีราคาหน้าดวงสูงที่สุดของไทย
แสตมป์ทั่วไปสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ไม่ใช่ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ เพิ่งเริ่มมีในระยะหลัง ชุดแรกมีวันแรกจำหน่าย 1 ธันวาคม พ.ศ. 2546 มีสี่แบบ ได้แก่ภาพ ธงชาติ เรือนไทย ช้าง และ ดอกราชพฤกษ์ อีกชุดหนึ่งที่จัดเป็นแสตมป์ทั่วไปได้เช่นกัน เป็นแสตมป์รูปดอกบัวซึ่ง ไม่จำหน่ายในรูปแผ่นแสตมป์เหมือนปกติ แต่อยู่ในรูปสมุดตราไปรษณียากรเล่มเล็กแทน
แสตมป์ของไทยเรา ราคาหน้าดวง 9.50 บาท ประมาณว่า เป็นราคาที่ใช้บ่อยในการส่งพัสดุประมาณนั้น ก็เลยทำราคานี้ไปเลย จะได้ใช้แสตมป์แค่ดวงเดียว ว่ากันมาว่าประมาณนั้น ครับผม วันนี้ก็คงมีเรื่องมาฝากแค่นี้ครับ ยังงัยก็อย่าลืมนะครับ ขอฝากผลงานของ "คนชงเหล้า" ให้เข้าไปอ่าน เข้าไปติดตามกันด้วยนะครับผม http://konchonglao.blogspot.com ยังมีอะไรๆ ดีๆ น่าสนใจรอคอยทุกๆคนอยู่อีกเยอะครับผม แล้วเจอกันใหม่ครับ ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก wikipedia ครับ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น